15 มิถุนายน 2563
76
ทีมงานพิพิธภัณฑ์กายวิภาคฯทางสัตวแพทย์ มช. เผยเบื้องหลังการจัดทำโครงกระดูก "พี่เตี้ย มช." ทำทุกอย่างเต็มที่ด้วยใจ ทำให้กระดูกของพี่เตี้ยสมบูรณ์และดีที่สุดจากที่ทำมากว่า 20 ปี
หลังความสูญเสียของ พี่เตี้ย มช ที่กลายเป็นประเด็นร้อนในสังคม โดยเฉพาะการตามล่าหาผู้กระทำผิด ไปจนถึงการถกเถียงเรื่องวิธีการจัดการสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ และล่าสุดที่ดูเหมือนจะเป็นประเด็นตามมานั่นก็คือ ภายหลังจากที่เพจเฟซบุ๊คของ พิพิธภัณฑ์กายวิภาคและพยาธิวิทยาทางสัตวแพทย์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU Vet Ana Path Museum) ได้โพสต์ภาพโครงกระดูกของพี่เตี้ย มช. ในสภาพเสร็จสมบูรณ์ ก็ได้เกิดกระแสคนกลุ่มหนึ่งได้วิจารณ์การทำงานของเจ้าหน้าที่ห้องพิพิธภัณฑ์
ทางห้องพิพิธภัณฑ์ฯ จึงชี้แจงรายละเอียดเบื้องหลัง และหลักการในการทำงาน พร้อมยืนยันว่า ทำทุกอย่างด้วยใจ ทำอย่างเต็มที่ โดย กระดูกของพี่เตี้ยเป็นกระดูกสุนัขที่ต่อขึ้นมาสมบูรณ์และดีที่สุดในบรรดากระดูกสุนัขกว่าร้อยตัวที่ทำมาตลอดเวลากว่ายี่สิบปี
โดยข้อความทั้งหมดระบุไว้ดังนี้..
จากมีกระแสคนกลุ่มหนึ่งได้วิจารณ์การทำงานของเจ้าหน้าที่ห้องพิพิธภัณฑ์ด้วยสำนวนดูถูกและไม่ให้เกียรติ ทางห้องพิพิธภัณฑ์ขออธิบายดังนี้ โปรดอ่านช้า ๆ และทำความเข้าใจด้วย
1. ห้องพิพิธภัณฑ์มีหน้าที่ในการจัดทำกระดูกสัตว์รวมถึงตัวอย่างทางกายวิภาคอื่น ๆ ทุกชนิดที่ได้รับมาจากเจ้าของโดยพิจารณาลำดับในการทำจากหลายปัจจัย เช่น ความเร่งด่วนในการใช้งานของตัวอย่าง สภาพของตัวอย่างว่าเน่าหรือยัง
ทีมงานเริ่มทำโครงกระดูกของพี่เตี้ยมช. หลังจากที่หน่วยชันสูตรได้ดำเนินการเสร็จสิ้นในกระบวนการชันสูตรแล้ว และได้รับความยินยอมจากผู้ดูแลเพจเตี้ยมช. ในขณะนั้น โดยสภาพที่ได้รับคือ เน่า ดังนั้นจึงควรต้องรีบทำ จึงได้แจ้งเจ้าของ และได้รับความยินยอมจากเจ้าของในขณะนั้นว่า ให้ดำเนินการทำได้เลย
ทางทีมงานจึงเริ่มดำเนินการ โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 1 สัปดาห์ --- หวังว่าจะเข้าใจว่าทำไมจึงต้องทำเลยนะ--
2 กรณีกล่าวว่าทีมงานยิ้มตอนถ่ายรูป
ขอชี้แจงว่า ที่ยิ้มคือ ทีมงานไม่ใช่ยิ้มเพราะ พี่เตี้ยตาย เรายิ้มด้วยความภูมิใจที่สามารถทำกระดูกของ พี่เตี้ยให้สมบูรณ์ที่สุด เพราะเราเชื่อว่าต้องมีคนจำนวนมากมาเที่ยวชมกระดูกพี่เตี้ย
เราตั้งใจจะให้กระดูกของพี่เตี้ยมีความสวยที่สุด ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด เรานั่งร้อยกระดูกทุกชิ้นเข้าด้วยกันด้วยเส้นเอ็น (ตัวอื่นติดกาวเพราะเร็วดี) แม้แต่นิ้วเท้าที่ว่าพี่เตี้ยมี 20 นิ้วเราก็ทำจนครบ กระดูกหางก็ครบทุกชิ้น
เราอยากบอกให้ทราบว่า กระดูกของพี่เตี้ยเป็นกระดูกสุนัขที่ต่อขึ้นมาสมบูรณ์และดีที่สุดในบรรดากระดูกสุนัขกว่าร้อยตัวที่ทำมาตลอดเวลากว่ายี่สิบปี เพราะทีมงานรักพี่เตี้ยมช. ไม่ต่างกับคนส่วนมาก (หนึ่งในทีมงานรักมากถึงขนาดว่าลางานประจำเพื่อมาช่วยทำ เป็นคุณ คุณจะลางานมาช่วยทำไหม?)
เราตั้งใจจะให้กระดูกของพี่เตี้ยมีความสวยที่สุด ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด เรานั่งร้อยกระดูกทุกชิ้นเข้าด้วยกันด้วยเส้นเอ็น (ตัวอื่นติดกาวเพราะเร็วดี) แม้แต่นิ้วเท้าที่ว่าพี่เตี้ยมี 20 นิ้วเราก็ทำจนครบ กระดูกหางก็ครบทุกชิ้น ดังนั้นอยากให้ทุกคนที่เห็นภาพถ่ายเข้าใจว่า เรายิ้มด้วยความภูมิใจในผลงานที่สมบูรณ์ที่สุดตั้งแต่ทำมา โปรดเข้าใจเราด้วย
ภาพ : CMU Vet Ana Path Museum
3 กรณีกล่าวว่าเราทำกระดูกเร็วเพราะต้องการทำลายหลักฐาน
โปรดใช้สมองคิดนิดหนึ่งว่า ถ้าเราต้องการทำลายหลักฐาน เราจะเอามาจัดแสดงทำไม เผาทิ้งไปเลยไม่ดีกว่าหรือ แล้วตั้งแต่นำเข้ามาอยู่ในห้องพิพิธภัณฑ์ เราไม่เคยห้ามไม่ให้ใครเข้าชม ไม่เคยห้ามถ่ายรูป ใครอยากมาดูเชิญ ใครอยากมาทำข่าวเชิญ ใครอยากถ่ายรูป ยินดี แล้วอย่างนี้จะเรียกว่าทำลายหลักฐานหรือเปล่า คิดให้ดี
สุดท้ายนี้ทางพิพิธภัณฑ์ขอแจ้งให้ทราบว่าเราทำงานภายใต้หน้าที่คือ “จัดแสดงตัวอย่างทางกายวิภาคและพยาธิวิทยาให้แก่ประชาชนทั่วไป นักเรียน นักศึกษาและผู้ที่สนใจ โดยยึดในหลักวิชาการที่ถูกต้อง และการทำงานด้วยเสียสละมาโดยตลอด ทำเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่คนทั่วไป”
ดังนั้นการวิจารณ์ขอให้ท่านทำในขอบเขตที่พึงกระทำ และหากท่านวิจารณ์พาดพิงจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคล เราจะดำเนินการฟ้องตามสิทธิ์ที่เรามี เราเองก็ได้เก็บทุกการวิจารณ์ไว้เป็นหลักฐานแล้ว
ภาพ : CMU Vet Ana Path Museum
สำหรับประวัติโดยย่อของ พิพิธภัณฑ์กายวิภาคและพยาธิวิทยาทางสัตวแพทย์ (Veterinary Anatomy and Pathology Museum) คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่เดิมเป็นเพียงห้องที่ใช้สำหรับเก็บรักษาตัวอย่างทางกายวิภาคและมีการจัดแสดงเฉพาะโครงกระดูกสัตว์ชนิดต่างๆ ที่ได้รับการบริจาคจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงเจ้าของสัตว์เลี้ยง อยู่ภายใต้การดูแลของคณาจารย์ สาขาพรีคลินิกทางสัตวแพทย์ ภาควิชาชีวศาสตร์ทางสัตวแพทย์และสัตวแพทย์สาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งแต่เริ่มจัดตั้งสาขานี้เมื่อปี พ.ศ. 2546 โดยมีอาจารย์ประจำภาควิชาผู้ดูแล เพียง 4 ท่าน และมีนักศึกษา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้ร่วมจัดทำ
ภาพ : CMU Vet Ana Path Museum
วัตถุประสงค์ในการจัดทำพิพิธภัณฑ์ในครั้งนั้น คือ เพื่อต้องการให้มีแหล่งเรียนรู้สำหรับกับนักศึกษาสัตวแพทย์ เนื่องจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดตั้งขึ้นได้ไม่นาน ทั้งยังขาดตัวอย่างที่ใช้ด้านการเรียนการสอนในวิชากายวิภาคศาสตร์อยู่มาก ต่อมาเมื่อมีจำนวนตัวอย่างเพิ่มมากขึ้น จึงเริ่มนำมาใช้เพื่อประโยชน์ในงานวิจัยและงานบริการวิชาการอื่น ๆ รวมทั้งได้เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชม ได้แก่ นักเรียน นักศึกษาไทยและต่างชาติ รวมถึงแขกจากต่างชาติ และมีการนำตัวอย่างไปจัดแสดงในนิทรรศการต่าง ๆ เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน บุคคลทั่วไป
ด้วยจำนวนตัวอย่างที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้พื้นที่เดิมมีความคับแคบ ไม่เพียงพอต่อการเก็บตัวอย่างทางกายวิภาคที่มีอยู่ได้ทั้งหมด ประกอบกับบริเวณที่เก็บรักษาเป็นพื้นที่ห้องปฏิบัติการที่ใช้เพื่อการเรียนการสอนเป็นหลัก ทำให้ต้องเคลื่อนย้ายตัวอย่างเสมอ และหากมีการเรียนการสอนก็จะไม่สามารถเปิดให้เข้าชมได้ ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2560 ภาควิชาชีวศาสตร์ทางสัตวแพทย์และสัตวแพทย์สาธารณสุข จึงมีโครงการปรับปรุงห้องจัดแสดงใหม่ภายใต้ชื่อ “พิพิธภัณฑ์กายวิภาคและพยาธิวิทยาทางสัตวแพทย์” เพื่อใช้สำหรับจัดแสดงตัวอย่างทางกายวิภาคและพยาธิวิทยาให้มีความสวยงาม เป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่ นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป โดยเริ่มเปิดให้บริการเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
ภาพ : CMU Vet Ana Path Museum
“พิพิธภัณฑ์กายวิภาคและพยาธิวิทยาทางสัตวแพทย์” ตั้งอยู่ตรงกลาง คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มช. จุดสังเกตหาได้ง่ายมาก เพราะมีโครงกระดูกช้าง และ กวาง ยืนเด่นเป็นสง่าที่ด้านหน้า ปัจจุบันเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมฟรี มีกระดูกและสัตว์แปลกๆ เยอะพอสมควร เช่น กระดูกของพยูน โลมา เสือโคร่งไซบีเรีย เปิดให้บริการ วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
"สมบูรณ์" - Google News
June 14, 2020 at 11:11PM
https://ift.tt/2YGNCJQ
เปิดเบื้องหลัง โครงกระดูก 'พี่เตี้ย มช.' สมบูรณ์ที่สุดตั้งแต่เคยทำมา - กรุงเทพธุรกิจ
"สมบูรณ์" - Google News
https://ift.tt/3cUwc1Q
Home To Blog
No comments:
Post a Comment